หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา : วท.บ. (ชีววิทยา)

Bachelor of Science (Biology) : B.SC. (Biology)

มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ปรัชญาของมหาวิทยาลัยทักษิณ   “ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนา”

ปรัชญาของคณะวิทยาศาสตร์      “ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เพื่อธรรมชาติและสังคม”

ปรัชญาของหลักสูตรฯ              “รอบรู้ชีววิทยา พัฒนาทักษะวิจัย ใฝ่จริยธรรม นำองค์ความรู้สู่ท้องถิ่น”

วัตถุประสงค์หลักสูตร
    
 1. มีความรู้ความสามารถ และทักษะวิจัยด้านชีววิทยา เพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     2. มีความใฝ่รู้และมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน
     3. มีความสามารถในการนำวิทยาการทางด้านชีววิทยาสู่การพัฒนาท้องถิ่น

โครงสร้างหลักสูตรฯ

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                    ไม่น้อยกว่า

135

หน่วยกิต

 

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                     ไม่น้อยกว่า

30

หน่วยกิต

 

ข. หมวดวิชาเฉพาะ                           ไม่น้อยกว่า

99

หน่วยกิต

 

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี                         ไม่น้อยกว่า

6

หน่วยกิต

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcome : ELOs) ของหลักสูตรฯ

ELOs 1

มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพทางชีววิทยา

ELOs 2

มีทักษะในการใช้เครื่องมือปฏิบัติการทางชีววิทยา

ELOs 3

มีทักษะในการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์กับงานทางชีววิทยาได้

ELOs 4

มีทักษะการทำวิจัยทางชีววิทยาเพื่อสร้างองค์ความรู้และสามารถประยุกต์ในการแก้ไขปัญหา ประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ELOs 5

มีกระบวนการเรียนรู้ ทักษะการทำงาน และมีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในองค์ความรู้ทางด้านชีววิทยาของภาคใต้

ELOs 6

มีทักษะทางปัญญาและความรู้ด้านชีววิทยาอย่างลึกซึ้งสามารถทำความเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมและชุมชนได้อย่างถูกต้อง

ELOs 7

มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยาเฉพาะด้าน อาทิ ทางด้านพืช สัตว์และพันธุศาสตร์

 

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

ปีที่

รายละเอียด

1

มีทักษะและรอบรู้ในวิทยาการทางด้านชีววิทยา และทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการในด้านที่เกี่ยวข้อง

2

มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในสาขาชีววิทยาและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง 

3

มีทักษะในกระบวนการวิจัย สามารถใช้การวิจัยเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาของท้องถิ่นอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาชีววิทยา

4

มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีความสามารถที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้

 
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
      - นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัย (ด้านชีววิทยา) ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
      - บุคลากรทางการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ (เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของคุรุสภา)
      - นักวิจัยหรือนักวิชาการอิสระในภาคธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรม
      - พนักงานหรือลูกจ้างในบริษัทเอกชน
      - อาชีพอิสระ

ข้อมูลหลักสูตรฯ
https://cur.tsu.ac.th/home/program.jsp?curriculumid=10000113

ระบบทะเบียนนิสิต
https://mis.reg.tsu.ac.th/home_reg/

คู่มือการศึกษา
http://www2.tsu.ac.th/tsudoc/manual/

Facebook สาขาชีววิทยา
https://www.facebook.com/groups/2533997366673074/

Youtube แนะนำหลักสูตร
https://www.youtube.com/watch?feature=share&v=PARFIUMn3dk&app=desktop&fbclid=IwAR1w21eqbxuchBtsyil2Szl6nccOE76tpe23S_ZlhVvcmBzkFe6NEPnYBZg

ระบบสถิตินิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ
https://mis.reg.tsu.ac.th/stat/


สาระน่ารู้ต่อผู้รับบริการ มหาวิทยาลัยทักษิณ

https://www.tsu.ac.th/faqtsu/faqtsu.php