หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

ปรัชญา พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

 

ความสำคัญของหลักสูตร

 

เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสาขาวิชาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทั้งในระดับประเทศและสากล เนื่องด้วยเป็นวิชาที่มุ่งเน้นไปในการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง สิ่งมีชีวิต และผลผลิตที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นในประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติ และ ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูงจึงมีความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพื่อ บริหารจัดการและนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้อย่างถูกวิธี และให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยบุคลากรที่ผลิตขึ้นใน สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานในด้านต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การวิจัยและพัฒนา การควบคุมคุณภาพ เป็นต้น

 

วัตถุประสงค์หลักสูตร

 

เพื่อผลิตมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะ ดังนี้

  1. มีศักยภาพในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล
  2. สามารถนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้ส่งเสริม พัฒนาสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ
  3. มีความรอบรู้ความเข้าใจในทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง และความสามารถในการ ทำวิจัยขั้นสูงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยระดับสูง  ทางด้าน เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศเพื่อการพัฒนา  ที่ยั่งยืน
  4. มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

 

  1. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในต่างประเทศ
  2. นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา นักวางแผน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาการด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน ด้านเกษตร ด้านอาหาร ด้านพืช และสัตว์
    ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
  3. ผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ/ที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

 

 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ข่าวการรับสมัครเรียน                https://mis.sci.tsu.ac.th/sciservice/tcas62/

คู่มือการศึกษา                        http://www2.tsu.ac.th/tsudoc/manual/

หลักสูตรและแผนการศึกษา         http://grad.tsu.ac.th/manualonline

บัณฑิตวิทยาลัย                       http://grad.tsu.ac.th/

 

หลักสูตรพหุวิทยาการ

หลักสูตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา          วิทยาเขตพัทลุง คณะวิทยาศาสตร์  และคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน

 

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

 

  1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร       

: 25540223203181

ภาษาไทย          

: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาษาอังกฤษ

: Master of Science Program in Biotechnology

รหัสหลักสูตร       

: 25540223203181

ภาษาไทย           

: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาษาอังกฤษ

: Doctor of Philosophy Program in Biotechnology

 

  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย)

: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ชื่อย่อ (ไทย)

: วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ)

: Master of Science (Biotechnology)

ชื่อย่อ (อังกฤษ)

: M.Sc. (Biotechnology)

ชื่อเต็ม (ไทย)

: ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ชื่อย่อ (ไทย)

: ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ)

: Doctor of Philosophy (Biotechnology)

ชื่อย่อ (อังกฤษ)

: Ph.D. (Biotechnology)

   

  1. 3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

3.1  แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

3.2  แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

3.3  แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

 

  1. 4. รูปแบบของหลักสูตร

4.1  รูปแบบ

          หลักสูตรพหุวิทยาการ หลักสูตร 3 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท และเป็นหลักสูตร 4 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี แบ่งการศึกษาเป็น 2 แบบ โดยเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาการระดับสูง

          แบบ 1  เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรกำหนด และต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามข้อบังคับ ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย ดังนี้

                  แบบ 1.1  ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโท จะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

           แบบ 2  เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และต้องศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ดังนี้

                  แบบ 2.1  ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโท จะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

                  แบบ 2.2  ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรี จะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

 

  1. ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ชีววิทยา จุลชีววิทยา วิศวกรรม เคมี วิทยาการคอมพิวเตอร์ พันธุวิศวกรรม ชีวเคมี วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ชีวสารสนเทศ พันธุศาสตร์ ชีววิทยาโมเลกุล อุตสาหกรรมเกษตร