หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาชีววิทยา

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

ปรัชญา เชี่ยวชาญชีววิทยา พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มีคุณธรรม จริยธรรม นำความก้าวหน้าสู่สังคม

จุดเด่นของหลักสูตร

  1. เรียนจบได้ภายใน 2 ปี(ตามแผนการศึกษา)
  2. หลักสูตรฯ มีคณาจารย์ที่มีประสบการณ์สูง ที่พร้อมเป็นที่ปรึกษาสำหรับครู อาจารย์ที่ต้องการเรียนเพิ่มเติม เพื่อเน้นทำงานวิจัยเกี่ยวกับโครงงานชีววิทยา
  3. หลักสูตรฯ ได้จัดวิชาเลือกไว้เป็นหมวดเฉพาะทาง จึงสามารถเลือกหมวดวิชาทำวิทยานิพนธ์ได้ตรงสาขาที่ถนัด เช่น เน้นทางพฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ หรือ จุลชีววิทยา
  4. การเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรฯสามารถนำไปบูรณาการสู่ภาคอุตสาหกรรม และวิจัยเพื่อชุมชนได้จริง

 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ข่าวการรับสมัครเรียน                https://mis.sci.tsu.ac.th/sciservice/tcas62/

คู่มือการศึกษา                        http://www2.tsu.ac.th/tsudoc/manual/

หลักสูตรและแผนการศึกษา         http://grad.tsu.ac.th/manualonline

บัณฑิตวิทยาลัย                       http://grad.tsu.ac.th/

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา         วิทยาเขตพัทลุง คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา

 

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

  1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร

:     25480221106858

ภาษาไทย

:     วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

ภาษาอังกฤษ

:     Master of Science Program in Biology

  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย)       

ชื่อย่อ (ไทย)         

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) 

ชื่อย่อ (อังกฤษ)   

:     วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยา)

:     วท.ม. (ชีววิทยา)

:     Master of Science (Biology)

:     M.Sc (Biology)

  1. วิชาเอก

ไม่มี

  1. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาโท

แผน ก แบบ ก1                ไม่น้อยกว่า        36       หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก2                ไม่น้อยกว่า        38       หน่วยกิต

  1. รูปแบบของหลักสูตร

5.1  รูปแบบ

หลักสูตรปริญญาโท 2 ปี

5.2  ภาษาที่ใช้

หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ   

 

5.3  การรับเข้าศึกษา

             รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

5.4  ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ

5.5  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว 

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก1

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มหาวิทยาลัยทักษิณรับรอง และได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้ประกอบ(ก) ผลงานวิจัยที่เผยแพร่ (ข) รางวัล ผลงานอื่น และกิจกรรมที่เคยทำมาที่เกี่ยวข้อง และ (ค) ผลการศึกษารายวิชาต่างๆ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ
  2. เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงาน หรือการวิจัย ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร

              แผน ก แบบ ก2

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มหาวิทยาลัยทักษิณรับรอง ในสาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

               มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์นี้เข้าศึกษาเป็นรายกรณี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หมวดที่ 4 ข้อ 17 ข้อ 18 และข้อ 19

 

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยด้านชีววิทยาในสถาบันวิจัยและสถานประกอบการ ทั้งในภาครัฐและเอกชนหลากหลายสายงาน เช่น การแพทย์ อุตสาหกรรม เป็นต้น
  2. อาจารย์ หรือนักวิชาการ หรือบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชนในหลากหลายระดับการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย เป็นต้น
  3. นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นต้น
  4. นักวิชาการอิสระหรืออาชีพอิสระ

 

ทุนการศึกษา

  1.  ทุนสนับสนุนการทำวิจัยสำหรับนิสิตทุกคนในหลักสูตรตลอดระยะเวลาการศึกษา
  2. ทุนวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย
  3. ทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์
  4. ทุนผู้ช่วยวิจัยจากอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น ทุนพวอ., วช., และ สกว. เป็นต้น
  5. ทุนผู้ช่วยสอน

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

      1. มีคุณธรรมและจริยธรรม มีการแสดงออกถึงความมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
      2. มีความเป็นผู้นำและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
      3. มีทักษะการใช้ภาษา การนำเสนอผลงานทางวิชาการต่อสารธารณะได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวม สืบค้น และนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      4. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในสาขาวิชาชีววิทยา สามารถวางแผนงานวิจัยได้ และวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง

      5มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการวิจัย และประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ผลงานวิจัยได้อย่างอย่างเป็นระบบและเหมาะสม
      6ติดตามความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการที่ทันสมัย และประยุกต์ใช้ได้