นักวิจัย ม.ทักษิณ และคณะ ค้นพบ “#เห็ดกรวยส้มทักษิณา" เห็ดชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่ ม.ทักษิณ พัทลุง
อ่าน : 172

: 1 เดือนที่แล้ว

นักวิจัย ม.ทักษิณ และคณะ ค้นพบ “#เห็ดกรวยส้มทักษิณา" เห็ดชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่ ม.ทักษิณ พัทลุง
จากภาพเห็ดกรวยส้มทักษิณา ที่พบในพื้นที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ถูกแชร์กันในโซเซียลมีเดียหลายสื่อ
ทำให้มีคำถามจากผู้อ่านว่าลักษณะของเห็ดกรวยส้มทักษิณาเป็นอย่างไร เป็นเห็ดชนิดใหม่ได้อย่างไร และกินได้ไหม
อาจารย์ ดร.ภูมิน นุตรทัต คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล และคณะทีมวิจัย ได้อธิบายข้อมูลเห็ดชนิดนี้เพื่อเป็นความรู้ด้านการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
Order : Gomphales
Family : Gomphaceae
Sciencetific name : Gloeocantharellus thailandensis 
Common Name : เห็ดกรวยส้มทักษิณา
 

Ecology and distribution : 

ดอกเห็ดเจริญอยู่เป็นเดี่ยว ๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่มบนดินในป่าผสม

(ต้นไผ่ Bambusa sp., ต้นจิก Barringtonia sp., ต้นประดู่ Pterocarpus macrocarpus)

Locations : 

สถานพบในบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ลักษณะสัณฐาน : 

เห็ดกรวยส้มทักษิณา เป็นเห็ดที่มีลักษณะสัณฐานวิทยารูปทรงกรวย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม

Gomphoid ในสกุล Gloeocantharellus ซึ่งต่างจากเห็ดสกุล Cantharellus และ Gomphus

ที่ครีบทั้งสองชนิดที่เป็นสันนูน รวมถึงข้อมูลระดับ DNA ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยชื่อสามัญของเห็ดกรวยส้มทักษิณา

ถูกตั้งตามลักษณะสัณฐานสีของดอกเห็ดด้วยตาเปล่าที่มีสีส้มอ่อนจนไปถึงสีส้มแดง โดยจากการอ่านค่าสีตามมาตรฐานสากล

บริเวณตรงกลางของหมวกเห็ดมีสีแดงอ่อนถึงสีแดงพาสเทล (pale red to pastel red at center)

ตรงขอบหมวกเห็ดมีสีขาวออกแดงถึงสีแดงพาสเทล (reddish white to pastel red towards margin)

ส่วนก้านของเห็ดสีขาวออกแดงถึงสีแดงพาสเทล (reddish white to pastel red towards margin) ขึ้นอยู่อายุของดอกเห็ด

ส่วนเนื้อในของเห็ดมีสีขาวหรือขาวออกเหลือง (white or slightly changing to yellowish white)

ส่วนครีบมีสีขาวถึงขาวออกเหลือง (white to yellowish white)

เป็นชนิดใหม่ได้อย่างไร : 

การที่จะบอกได้ว่าเห็ดชนิดนี้เป็นชนิดใหม่ ต้องมีการศึกษาทั้งสัณฐานวิทยาที่เป็น macroscopic characters

คือ สัณฐานหรือลักษณะที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ลักษณะที่มองเห็นด้วยตาเปล่าหมวกของดอกเห็ดเป็นอย่างไร

มีสะเก็ดไหม ครีบเป็นแบบใด สีของหมวกเห็ดและก้าน เป็นต้น และสัณฐานวิทยาที่เป็น microscopic characters

คือ ลักษณะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น สปอร์ (spores)

สิ่งที่ต้องบันทึก คือ รูปร่าง ขนาด ลักษณะผิวสปอร์ (ornamentation) เช่น หนาม สันนูน เซลล์ที่ให้กำเนิดสปอร์ ที่เรียกว่า เบสิเดียม (basidium)

สิ่งที่ต้องบันทึก คือ รูปร่าง ขนาด จำนวนก้านชูสปอร์ (sterigma) เป็นต้น และปัจจุบันต้องมีการศึกษาอณูชีวโมเลกุลหรือข้อมูลทางพันธุกรรม (molecular taxonomy)

ซึ่งเห็ดแต่ละสกุลจะมีการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน โดยในกรณีของเห็ดสกุล Gloeocantharellus

จะศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน Internal transcribed spacer (ITS), large subunit (nrLSU) of the nuclear ribosomal DNA (rDNA),

และ the mitochondrial ATPase subunit 6 (atp6) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล

รวมถึงวิเคราะห์แผนภูมิต้นไม้แสดงความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ หรือที่เรียกว่า phylogenetic tree analysis

เห็ดชนิดนี้กินได้หรือไม่ : 

เนื่องจากเห็ดในสกุลนี้ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มีการรายงานว่าเป็นเห็ดกินได้จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป  
...............................................................................................
เรื่อง/ภาพ : อาจารย์ ดร.ภูมิน นุตรทัต และคณะ 
สามารถศึกษาข้อมูลได้จาก https://phytotaxa.mapress.com/pt/article/view/phytotaxa.634.2.6
ภายใต้การทำงานของโครงการวิจัย

"เห็ดป่าในป่าสาคูจังหวัดพัทลุงสู่การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาต่อยอดทางอุตสาหกรรมเกษตร"

ทุนสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2566 จากมหาวิทยาลัยทักษิณ
เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ

TSUNews #WeTSU #Knowledgesharing #คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล #สถาบันวิจัยและนวัตกรรม

#มหาวิทยาลัยทักษิณ #Science #Biodiversity #Ecology #SDGs

#มหาวิทยาลัยทักษิณ #คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล #สถาบันวิจัยและนวัตกรรม #เห็ดกรวยส้มทักษิณา #พัทลุง
#Thailand #Socialinnovation #Biodiversity #SDGs #เรียนวิทย์ใกล้ชิดธรรมชาติ #SciDITSU
#SciNEXT #TSUEnterToWin #Admission #TSU #DEK67 #TCAS67 #DEKTSU67 #เด็กทักษิณ67








เขียนโดย กรกฎ เพชรทรัพย์

เจ้าหน้าที่บริหารงาน
  พท2002